หายไปนานเลย จาก post ที่แล้วที่อธิบายการ ติดตั้ง Jenkins บน window ไป สำหรับใครที่ยังไม่ได้ติดตั้ง ก็ลองย้อนกลับไปดูก่อนนะครับ เสร็จแล้วเรามาต่อกันที่การ config ให้ Jenkins รัน Robot Framework กันดีกว่าครับ

ก่อนอื่นเลยเครื่องที่เพื่อนๆลง Jenkins ต้องสามารถรันเทส robot script ได้ด้วยนะครับ ใครจำวิธีลงไม่ได้ตาม link นี้เลยครับ

เริ่มติดตั้ง Plug-in Jenkins ที่จำเป็น

  1. ให้เราเปิด Browser ไปที่ Jenkins url ได้เลยครับ Default URL ปกติคือ 127.0.0.1:8080 แล้ว Login เลยครับ
  2. Manage Jenkins –> Manage Plugins –> Available Tab
  3. ให้ Search หา plugin Robot Framework plugin และ Select checkbox ด้านหน้า plugin แล้วเลือก Download now and install after restart
        
  4. เมื่อ Install เสร็จก็ให้ Restart Jenkins Server โดยการไปที่ URL 127.0.0.1:8080/restart แล้วเลือก Yes

เท่านี้ก็เป็นการเสร็จสิ้นการเตรียมความพร้อมของ Jenkins แล้วครับ ไปต่อกันที่การ สร้าง Job มาเพื่อรันเทสกันเลย

เริ่ม New Job สำหรับรันเทส

  1. New Item –> ตั้งชื่อ Job ที่ต้องการได้เลย จากตัวอย่างคือ Demo
  2. เลือก Type เป็น Freestyle project แล้วเลือก OK ได้เลยครับ
  3. Config test script file
    ในส่วนนี้ถ้าเพื่อนๆยังไม่ได้ Commit code ไว้บน Git ก็อาจลองจาก test script ตัวอย่างตาม url นี้ได้เลยครับ https://github.com/qahive/demo_test_lab_robot_scripts.git
  4. เพิ่มคำสั่งให้Jenkins รันเทสโดย ส่วนการ Build เลือก
    Add build step –> Execute Windows batch command
    จากนั้นเพิ่ม Command “pybot .”
  5. เพิ่มคำสั่งในการแสดงผลการเทสให้กับ Job นี้
    เพิ่ม Publish Robot Framework test results เข้าไปภายใต้ Post-build Actions แล้วทำการ config ตามรูปด้านล่างได้เลยครับ
  6. หลังจากนั้นให้ Save Job ได้เลยครับ เพื่อนๆก็พร้อมจะรันเทสแล้ว
  7. สุดท้ายลองรันเทสดูด้วยการสั่ง Build Now ภายใต้ Job Demo ครับ

เท่านี้เพื่อนๆก็พร้อมแล้วสำหรับการทำงาน แบบ
Continuous Integration

สนใจเรียนคอร์สออนไลน์เพิ่มเติมด้านล่างเลย

CI & CD ด้วย Jenkins Pipeline

เรียนคอร์ส Jenkins Online ก่อนใคร

จาก 3,000 ลดเหลือ 2,499 บาทเท่านั้น!!!

Previous articleติดตั้ง Jenkins ด้วย 3 ขั้นตอนง่ายๆกัน
Next articleเพิ่มประสิทธิภาพการทำ Backlog refinement ด้วย Specification Workshops